วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น:ปีบ

ต้นปีบ

ไม้ยืนต้น:ปีบ

ไม้ยืนต้น:ปีบ





ชื่อสามัญ  Cork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์  Millingtonia hortensis Linn.
ตระกูล BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น กาชะลองคำ

ปีปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก กิ่งก้านมักจะย้อยลง เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบ ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงเวียน ช่อแขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกมีสีขาวหรือชมพู มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกซ้อนตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่ ยาว 10-35 ซม. มีขน กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก ปลายมนกว้างม้วนลง เป็นหลอดยาวปลาย 4 แฉก มี 1 กลีบที่ปลายเป็น 2 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4 ซม. ผลแห้งแตก เป็นฝักแบนและตรง สีน้ำตาล หัวท้ายแหลม กว้าง 1.5-2.3 ซม. ยาว 25-30 ซม. เมล็ดแบนมีปีกบาง

ประโยชน์



  • ดอกตากแห้งนำมาม้วนเป็นบุหรี่สูบ รักษาริดสีดวงจมูก 
  • มีสาร hispidulin มีฤทธิ์ในการขยายหลอดลมรักษาอาการหอบหืด 
  • สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้





วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น:ประดู่

ต้นประดู่

ไม้ยืนต้น:ประดู่

ไม้ยืนตันประดู่





ชื่อสามัญ  Burma Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์  Plerocapus indicus.
ตระกูล    PAPILIONACEAE

ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพู แตกกิ่งก้านสาขากว้างมีเรือนยอดทึบ แตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆ ใบเป็นช่อแตกจากปลายกิ่ง มีใบย่อยประกอบ 6-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาว 2-3 นิ้ว กว้าง 1-2 นิ้ว ดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ผลมีขนเล็กๆ ปกคลุม ผลโต 4-6 เซนติเมตร


ประโยชน์

  • เนื้อไม้ ต้มกินแก้ไข้ เสมหะ เลือดกำเดาไหล 
  • ใบอ่อนใช้พอกแผลให้แห้งเร็ว 
  • แก้ผดผื่นคัน 
  • ยางไม้ แก้โรคท้องเสีย
  • ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ต้านมาลาเรีย และต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดเมทานอลมาใช้เป็นสีย้อมในเครื่องสำอาง
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

อ้างอิง:

  • http://www.thaigoodview.com/node/73103
  • http://www.sandalwood.9nha.com/pradoo.html


ไม้ยืนต้น:ชำมะเลียง

ต้นชำมะเลียง

ต้นชำมะเลียง
ต้นชำเลียง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisanthes fruiticosa
วงศ์ SAPINDACEAE
ชื่ออื่นๆ พุมเรียง ผักเต้า มะเถ้า มะเกียง หวดข้าใหญ่ โคมเรียง 

ต้นชำมะเลียงเป็นไม้ยืนต้นที่พบได้ทั่วประเทศไทยและเป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสูงประมาณ 4-7 เมตรเปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องๆ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ได้ง่ายทนทานต่อโรคต่างๆและศัตรูพืช ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียวยาว มีสีเขียวตลอดทั้งปี ดอกออกเป็นช่อที่กิ่งและต้น ดอกสีม่วง ติดผลช่วงกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ผลกลมออกเป็นช่อ เมื่ออ่อนสีม่วง รสฝาด พอแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ รสหวานอ่อนๆ

ประโยชน์

  • ผลใช้แก้โรคท้องเสียในเด็ก 
  • ทำน้ำผลไม้ 
  • ยอดอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก 
  • รากเป็นยาแก้ไข้ 
  • แก้ร้อนใน 
  • แก้ไข้เหนือ 
  • แก้ท้องผูก 
  • แก้ไข้สันนิบาต 
  • แก้เลือดกำเดาไหล 
  • แก้ไข้พิษ 
  • แก้ท้องเสีย
  • แก้ไข้กาฬ 

ข้อควรระวัง

  • ผลถ้ารับประทานมากไปทำให้ท้องผูก

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น: จำปี

ต้นจำปี

จำปี
จำปี

ชื่อวิทยาศาสตร์ Michelia alba DC 
ชื่อสามัญ White Champaka
วงศ์ Magnoliaceae

จำปีเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ10-20 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลมีร่องรอยแตกถี่ๆกิ่งก้านหักง่าย ใบเดี่ยวเรียงสลับกันลักษณะของใบมีรูปรีปลายแหลมส่วนขอบใบจะเรียบความยาว 20 เซนติเมตร และความกว้าง 8 เซนติเมตร ไม่มีการผลัดใบมีดอกออกตามซอกใบสีของดอกเป็นสีขาวแคบเรียบ มี 8-12 กรีบ ยาว 4-6 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม

ประโยชน์

  • ดอกแก้เป็นลม 
  • แก้ไข้ 
  • บำรุงหัวใจ 
  • ขับน้ำดี 
  • บำรุงโลหิต
  •  แก่นช่วยบำรุงประจำเดือน
  • ใบช่วยขับระดูขาวของสตรี
  • ใบใช้ต้มแก้หลอกลมอักเสบเรื้อรัง 
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับออกดอกทั้งปี
  • ดอกสรรพคุณของจำปี ดอกช่วยบำรุงน้ำดี 
  • สามารถทำให้เสื้อผ้ามีกลิ่นหอมได้โดยการใช้ดอกจำปีร่วมอบผ้า
  • ดอกจำปีใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<





ไม้ยืนต้น: จำปา

ต้นจำปา

ต้นจำปา
ต้นจำปา

ชื่อวิทยาศาสตร์  Michelia champaca Linn.
ชื่อวงศ์  MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ  Champaca
ชื่ออื่นๆ จัมปา จำปากอ จำปาเขา จำปาทอง  จำปาป่า มณฑาดอย

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ความสูงประมาณ 15-30 เมตร ส่วนลำต้นมีลักษณะตรง เส้นควั่นเป็นรอยและมีตุ่มเล็กๆ ทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ แตงกิ่งจำนวนมากตรงยอด เปลือกสีเทาอมขาว มีกลิ่นฉุน ใบเป็นใบเดี่ยว ใบกว้างประมาณ 5 นิ้ว  ยาวประมาณ 10 นิ้ว รูปรีแกมขอบขนานกว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ เนื้อใบบาง ใบอ่อน มีขน ใบแก่เกลี้ยง เส้นใบ 16-20 คู่ ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร โคนก้านใบป่อง มีดอกออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ผลเกิดเป็นกลุ่มๆยาว 6-9 เซนติเมตรเปลือกหุ้มเมล็ดสีแดงเมล็ดแก่ในช่วงฤดูแล้ง


ประโยชน์
  • กระพี้ถอนพิษผิดสำแดง
  • แก้ไข้ เปลือกต้นฝาดสมาน ทำให้เสมหะในลำคอเกิด
  • ใบช่วยแก้แก้ป่วงของทารกและโรคเส้นประสาทพิการ 
  • เนื้อไม้บำรุงโลหิต
  • รากขับโลหิตสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก
  • ดอกแก้วิงเวียนอ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย บำรุงหัวใจ กระจายโลหิต
  • เปลือกราก เป็นยาถ่าย ทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<



ไม้ยืนต้น:จันทร์กะพ้อ

จันทร์กะพ้อ

ต้นจันทร์กะพ้อ
ต้นจันทร์กะพ้อ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Vatica diospyroides Symington 
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นๆ  จันทน์พ้อ  จันพอ เขี้ยวงูเขา

จันทน์กะพ้อเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (สูงประมาณ 5 - 15 เมตร) ต้นค่อนข้างตรง เปลือกเกลี้ยง เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือกว้างใบเป็นใบเดี่ยว รูปรียาว ขนาดยาว 7 - 9 เซนติเมตร กว้าง 2 - 3 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม เรียงตัวแบบเวียนไปตามกิ่งห่างๆ กัน ดอกออกตามกิ่งเป็นช่อเล็กๆ ทยอยบานครั้งละ 1 - 2 ดอก แต่มักจะมีช่อหลายช่อเป็นกระจุกและเรียงเป็นระยะๆ ตามกิ่งดอกขนาด 1.2-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลกลีบดอกเรียงเวียนซ้อนเกยกันเล็กน้อย ด้านในสีขาวนวลหรืออมชมพู ด้านนอกมีแถบแคบๆ มีขนละเอียดสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอมแรง ออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน


ประโยชน์

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ 
  • ดอกสามารถนำดอกมาปรุงเป็นยาหอม 
  • แก้ลม 
  • บำรุงหัวใจ

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<


ไม้ยืนต้น:จันทร์กะพ้อ

จันทร์กะพ้อ

ต้นจันทร์กะพ้อ
ต้นจันทร์กะพ้อ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Vatica diospyroides Symington 
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นๆ  จันทน์พ้อ  จันพอ เขี้ยวงูเขา

จันทน์กะพ้อเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (สูงประมาณ 5 - 15 เมตร) ต้นค่อนข้างตรง เปลือกเกลี้ยง เรือนยอดเป็นพุ่มรีหรือกว้างใบเป็นใบเดี่ยว รูปรียาว ขนาดยาว 7 - 9 เซนติเมตร กว้าง 2 - 3 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม เรียงตัวแบบเวียนไปตามกิ่งห่างๆ กัน ดอกออกตามกิ่งเป็นช่อเล็กๆ ทยอยบานครั้งละ 1 - 2 ดอก แต่มักจะมีช่อหลายช่อเป็นกระจุกและเรียงเป็นระยะๆ ตามกิ่งดอกขนาด 1.2-1.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลกลีบดอกเรียงเวียนซ้อนเกยกันเล็กน้อย ด้านในสีขาวนวลหรืออมชมพู ด้านนอกมีแถบแคบๆ มีขนละเอียดสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอมแรง ออกดอกในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน


ประโยชน์

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ 
  • ดอกสามารถนำดอกมาปรุงเป็นยาหอม 
  • แก้ลม 
  • บำรุงหัวใจ

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น:จิกน้ำ

ต้นจิกน้ำ

ต้นจิกน้ำ
ต้นจิกน้ำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barringtonia acutangula
วงศ์ Lecythidaceae
ชื่ออื่นๆ  จิกอินเดีย  จิกนา  จิกมุจรินทร์

เป็นไม้ประเภทผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล แดงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด เป็นรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ปลายและโคนใบแหลม ขอบจักถี่ เวลามีดอกจะทิ้งใบเหลือเพียงใบอ่อนเป็นสีแดง สวยงามน่าชมมาก ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด ห้อยลงเป็นระย้า ราว 30-40 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เป็นสีแดง หรือ ชมพู เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้เป็นฝอย ๆ สีชมพู หรือ สีแดง จำนวนมาก เวลามีดอกบานพร้อมกันจะดูแลสวยงามน่ารัก โดยเฉพาะช่วงมีดอกจะทิ้งใบมีแต่ยอดอ่อนเป็นสีแดงจัด ยิ่งเพิ่มความงดงามยิ่งขึ้น ผลลักษณะกลมยาว มีเมล็ด ดอกออกระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ในปีถัดไป

ประโยชน์

  • ยอดอ่อน และ ดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดและผักจิ้มกับ น้ำพริก ลาบ, น้ำตก
  • เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา 
  • ทำเครื่องเรือนและเป็นสมุนไพรแก้ระดูขาว 
  • ไม้ใช้ทำไม้อัด
  • ใบแก่ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง 
  • เมล็ดใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้ไอในเด็ก
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3



ไม้ยืนต้น:เงาะ

เงาะ

ต้นเงาะ
ต้นเงาะ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephelium lappaceum Linn.
ชื่อสามัญ  Rambutan
วงศ์ Sapindaceae

ชื่ออื่นๆ กะเมาะแต มอแต พรวน เงาะป่า



เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้นเงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ21 – 30 วัน เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 – 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วัน จึงจะบานหมดช่อดอกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น สายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุดก็ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน (เงาะโรงเรียน) พันธุ์สีทอง พันธุ์สีชมพู เป็นต้น


ประโยชน์

  • สรรพคุณของเงาะ ช่วยรักษาโรคบิดท้องร่วง
  • ใช้เป็นยาแก้อักเสบ
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วงรุนได้อย่างได้ผลเงาะ
  • ผลเงาะนำมาต้ม นำน้ำที่ได้มาเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียรักษาอาการอักเสบในช่องปาก 

ข้อควรระวัง

  • ข้ออควรระวัง คือเม็ดในของเงาะมีพิษแม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปจะมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นไม่ควรจะรับประทานเม็ด

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

ไม้ยืนต้น:งิ้ว

ต้นงิ้ว

ต้นงิ้ว
ต้นงิ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceiba pentandra 
วงศ์ Malvaceae 
ชื่ออื่นๆ นุ่น

ต้นงิ้ว สูงประมาณ 10 – 15 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ผลอ่อนสีเขียวลักษณะยาวๆคล้ายผลแตงกวา แต่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อข้างในเป็นปุยและมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ส่วนใหญ่นำมาใช้ทำฟูกหรือที่นอนพบบริเวณตามบ้านเรือน ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ฝักอ่อนมากๆ เนื้อในซึ่งยังไม่เปลี่ยนเป็นปุยนุ่นใช้เป็นอาหาร หรือจะกินสดๆหรือใส่แกง สรรพคุณทางสมุนไพร   


ประโยชน์

  • เปลือกมีแทนนินแก้ท้องเสีย
  • รากขับปัสสาวะ
  • แก้บิด
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

อ้างอิง:http://student.nu.ac.th/phaitoon/%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

ไม้ยืนต้น:แคป่า

ต้นแคป่า

ต้นแคป่า
ต้นแคป่า


ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone Spathacea schum. 
วงศ์ Bignoniaceae 
ชื่ออื่นๆ แคนา

ไม้ต้น เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้าม 3 - 5 คู่ และมีใบที่ยอด 1 ใบ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบเบี้ยวกว้าง 2.5 - 7 เซนติเมตร ยาว 6 – 16 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อแบช่อกระจะ (raceme) แต่ละช่อมี 2 – 10 ดอก บานทีละดอก  กลิ่นหอม บานตอนกลางคืน รุ่งเช้าร่วง กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวโค้งยาว 3 - 4 เซนติเมตร จะหุ้มดอกตูมมิด เมื่อดอกบานจึงมีรอยแตก ทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้ม (spathe) กลีบดอกติดกันเป็นท่อ ปลายขยายออกดเป็นรูประฆัง และแยกออกเป็น 5 แฉก ขอบกลีบย่น ดอกสีขาว เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดอยู่ที่ด้านในของกลีบท่อดอก ปลายแยกมีขนาดสั้น 2 อัน ยาว 2 อัน และมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน รูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กเกสรเพศเมีย 1 อัน ผลเป็นฝัก ช่อละ 3 - 4 ฝัก รูปร่างแบนโค้ง ระยะออกดอก เดือนมีนาคม - มิถุนายน พบตามป่า ทุ่ง ไร่นา ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร กลีบดอกบาน นำมาต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงส้มอั่วใส่ปลา


ประโยชน์

  • ขับเสมหะ
  • บำรุงโลหิตและลม
  • ขับผายลม
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<



ไม้ยืนต้น:แค

ต้นแค

ต้นแค
ต้นแค


ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania Grandiflora Desv. 
วงศ์ Papilionaceae 
ชื่ออื่นๆ แคบ้าน แคขาว แคแดง

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งหักเปราะแตกง่าย ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยขนาดเล็ก10 – 30 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ผิวใบมีขน ดอก ออกเป็นกระจุก 2 - 3 ดอก หรือออกเดี่ยว กลีบดอกห้อยลง มีดอกสีขาวและสีแดง ฝัก ลักษณะแบนยาว หนา ปลายฝักแหลมภายในมีเมล็ด15 – 50 เมตร พบตามบ้านเรือนทั่วไป ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก ใช้ลวก ต้ม จิ้มน้ำพริก หรือทำแกงอ่อม แกงส้ม สรรพคุณทางสมุนไพร  


ประโยชน์

  • เปลือกประมาณ 40 กรัม ปิ้งไฟแล้วนำไปต้มกับน้ำธรรมดาหรือน้ำปูนใสดื่มแก้ท้องร่วง
  •  แก้บิด หรือ ใช้เป็นยาห้ามเลือด สมานแผล
  • ใบแก้ไข้หวัด 
  • รากผสมน้ำผึ้งช่วยขับเสมหะรักษาโรคปวดข้อ 
  • ดอกรับประทานเป็นผัก มีแคลเซียม และธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงร่างกาย
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

อ้างอิง: http://student.nu.ac.th/phaitoon/%E0%B9%81%E0%B8%84.html

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น:ขี้เหล็ก

ต้นขี้เหล็ก

ต้นขี้เหล็ก
ต้นขี้เหล็ก



ชื่อวิทยาศาสตร์ Basella alba Linn. 
ชื่อพ้อง B. rubra Linn. 
วงศ์ Basellaceae 
ชื่ออื่นๆ ขี้เหล็กบ้าน

ไม้ต้น สูงประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกสีเทา ปนน้ำตาลอ่อน แตกตามความยาวของ ลำต้น เป็นร่องตื้นๆเรือนยอดทรงพุ่ม ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกสลับ มีใบย่อย 10 – 15 คู่ ออกตรงข้ามรูปไข่ ปลายมน ฐานใบมน ใบขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร กว้าง 2 - 2.5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกช่อแยกแขนง (panicle) ออกตรงซอกใบหรือปลายกิ่ง สีเหลือง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวปนเหลืองกลีบดอก 5 กลีบแยกกัน สีเหลืองร่วงง่าย เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary) ผลเป็นฝักแบน ผลแก่บิดงอเล็กน้อย เมล็ดแต่ละฝักมีเมล็ด 10 – 30 เมล็ด ออกดอกตลอดปีพบตามป่าผลัดใบผสม ป่าเต็งรัง ในไร่ สวน บริเวณหมู่บ้านส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบยอดอ่อน ยอดอ่อน และดอกตูม นำมาต้มน้ำรินน้ำขมออก แล้วนำไปแกงกับปลาร้า ผสมน้ำคั้นใบย่านาง หรือใส่กะทิ 

ประโยชน์

  •  รากถ่ายพิษไข้ แก้ชักในเด็ก
  •  ต้นรักษาโรคผิวหนัง
  • เป็นยาระบาย
  • ใบแก้ระดูขาว
  • ดอกแก้นอนไม่หลับ
  • เป็นยาระบาย
  • ทำให้เจริญอาหาร
  • บำรุงประสาท
  • แก่นแก้กามโรค

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่นๆ >>คลิก<<


ไม้ยืนต้น:ข่อย

ต้นข่อย

ต้นข่อย
ต้นข่อย



ชื่อสามัญ   Siamese rough bush
ชื่อวิทยาศาสตร์  Streblus asper
วงศ์  MORACEAE
ชื่ออื่นๆ  สนนาย

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบขึ้นตามพื้นราบและป่าเบญจพรรณลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตรผิวเปลือกลำต้นสีเทาค่อนข้างขาว โคนลำต้นตรง เนื้อไม้เหนียวส่วนบนคดงอเป็นปุ่มปม และเป็นร่องเล็กน้อยมีใบออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กสีเขียว ขอบใบเรียบ โคนใบมนแหลม ปลายใบแหลม ใบหนาหยาบคล้ายกระดาษทราย ใช้ถูขูดเมือกปลาไหลได้ ออกดอกเป็นช่อดอกเล็ก สีขาวและเหลืองผลกลมมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดผลสามารถรับประทานได้ตอนสุก


ประโยชน์
  • เมล็ดช่วยทำให้เจริญอาหาร 
  • เปลือกเมื่อนำมาต้มกับเกลือจะได้เป็นยาอมช่วยแก้รำมะนาดได้
  • ช่วยขับลมในลำไส้
  • เมล็ดช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหารได้
  • ยางจากต้นไม้มีน้ำย่อยสามารถย่อยน้ำนม 
  • รากใช้เป็นยาใส่แผล 

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่นๆ >>คลิก<<

ภาพจาก:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น:ก่อ

ต้นก่อ

ต้นก่อ
ต้นก่อ



ชื่อวิทยาศาสตร์ Castanopsis spp. 
วงศ์ Fagaceae 
ชื่ออื่นๆ ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อแป้น 

ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ มีมากกวา 80 ชนิด ลำต้นสูง ตั้งแต่ 15 – 35 เมตรเปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเหลือง แตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ ใบรูปหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบเข้า ปลายใบเรียวแหลม มีส่วนย่นออกไปเป็นหาง ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. กาบหุ้มเมล็ดเป็นหนามแหลม ชนิดที่ผลมีหนามหุ้มเมื่อนำเมล็ดไปคั่วแกะกินเนื้อใน จะได้รสหวานมันคล้ายลูกเกาลัด พบบริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร เนื้อในเมล็ดสีขาว จะได้รสหวานมันเหมือนลูกเกาลัดของจีน


ประโยชน์

  • บำรุงร่างกาย บำรุงไต กล้ามเนื้อ ม้าม และกระเพาะอาหาร 
  • แก้ร่างกายอ่อนแอ
  • เนื้อไม้ ใช้ทำโครง สร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น เสาบ้าน

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

ไม้ยืนต้น:กระโดน

ต้นกระโดน

ต้นกระโดน
ต้นกระโดน


ชื่อวิทยาศาสตร์ Careya sphaerica Roxb. 
ชื่อพ้อง C. arborea Roxb. 
วงศ์ Barringtoniaceae 
ชื่ออื่นๆ กระโดนบก กระโดนโคก ปุยขาว ขุย

ไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบแตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกสีน้ำตาลหรือดำคล้ำเปลือกหนา แตกล่อนเป็นแผ่น ใบเดี่ยวเรียงสลับถี่ๆที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 3.5 – 12 เซนติเมตร ยาว 6 – 20 เซนติเมตร ปลายแหลมเป็นติ่งโคนเรียวยาว ขอบหยักเล็ก หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดงแล้วทิ้งใบเมื่อออกยอดอ่อน เป็นสีน้ำตาลแดง ดอกใหญ่ออกเป็นช่อ ออกปลายกิ่ง ฐานรองดอกรูประฆัง แต่ละดอกมีใบประดับ 3 ใบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างมน กลีบดอก 4 กลีบ สีขาวครีม รูปขอบขนาน เกสรผู้จำนวนมาก เป็นพู่สวยเรียงเป็นชั้นๆ ชั้นนอกยาวสุด อับเรณูมีในส่วนชั้นกลาง ก้านชูอับเรณูสีม่วง เกสรเพศเมียรังไข่ใต้วงกลีบ 
1 อัน 4 ช่อ ผลรูปไข่หรือกลม เมล็ดจำนวนมาก



ประโยชน์

  • เปลือกของต้นช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร
  •  ผลช่วยในการย่อยอาหาร 
  • ดอกช่วยแก้อาการหวัดและแก้ไอได้ด้วย 
  • เปลือกต้นช่วยลดอาการปวดเมื่อ 
  • เปลือกต้นช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

ไม้ยืนต้น:สะเดา

ต้นสะเดา

ต้นสะเดา
ต้นสะเดา



ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica siamensis Valeton 
วงศ์ Meliaceae 
ชื่ออื่นๆ สะเดา สะเลียม กะเดา จะตัง

ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 5 – 10 เมตร ทุกส่วนมีรสขม ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านออกไปด้านข้าง เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก ใบเป็นใบประกอบออกเป็นคู่แบบขนนกเรียงสลับกัน ขอบใบหยักฟันเลื่อย มีลักษณะยาวรีรูปหอกฐานใบไม่เท่ากัน ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง จะออกเมื่อใบร่วงหล่นไป กลีบดอกมีสีขาวส่งกลิ่นหอม ผลเป็นรูปรี กลม พบตามป่าเบญจพรรณ ตามเรือกสวนไร่นา ริมทางทั่วไป ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน ดอกตูม ใบ นำมาลวกกินกับลาบ แจ่ว มีรสขมหรือน้ำปลาหวาน สรรพคุณทางสมุนไพร เปลือก แก้ไข้มาเลเรีย แก้บิด ใบและเมล็ดแก่ ใช้เป็นยากำจัดศัตรูพืช ก้านใบ แก้ไข้ ดอก เป็นยาขมบำรุงธาตุ


ประโยชน์

  • ช่วยบำรุงโลหิต
  • น้ำตาลที่ได้จากการหมักน้ำจากลำต้น มีแร่ธาตุ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย 
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วง 
  • ช่วยแก้อาการท้องเดิน  
  • ช่วยแก้อาการปวดท้อง 
  • ช่วยแก้อาการคันในร่มผ้า

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

ไม้ยืนต้น:โกสน

ต้นโกสน

ต้นโกสน
ต้นโกสน


ชื่อสามัญ   Croton
ชื่อวิทยาศาสตร์ Codiaeum varicgatum
ตระกูล  EUPHORBIACEAE 
ถิ่นกำเนิด  ตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิค

ต้นโกสนเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทไม้พุ่มขนาดย่อมถือว่าเป็นต้นไม้มงคลถ้าบ้านใดปลูกต้นโกสนไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีบุญบารมีต้นโกสนนั้นมีความสูงประมาณ 3-5 เมตร ผิวลำต้นเรียบสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มตรงกลม ใบแตกออกจากต้นและปลายกิ่ง ลักษณะใบมีรูปร่าง สีสันขนาด แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกออกเป็นพวงห้อยลงมาด้านล่าง ดอกมีสีขาว เล็กมาก มีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่จะเห็นเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอย การบานของดอกเป็นรูปทรงกลม ยอดอ่อนสามารถนำมารับประทานได้ เช่น ชุบแป้งทอด ผัดกระเพรา เป็นต้น



ประโยชน์


  • แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ
  • ยอดอ่อนยังมีสรรพคุณแก้ร้อนใน


ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<


วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น:กะบก

ต้นกะบก

ต้นกะบก


ชื่อวิทยาศาสตร์ Irvingia malayana Oliv. A. Benn. 
วงศ์ Ixonanthaceae 
ชื่ออื่นๆ กระบก จะบก บก หมื่น หมากหมื่น หมากบก ตระบก

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ 15-30 เมตร ไม้เนื้อแข็ง ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ทรงพุ่ม ค่อนข้างกลมและแน่นทึบ เปลือกต้นสีขาวนวล หรือขาวปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปยาวรีแกมหอก โคนใบมนปลายใบแหลมเนื้อใบแข็งผิวเรียบเป็นมัน ขนาดกว้าง  2.5-9.0 เซนติเมตร ยาว 8–20 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีขาวอมเขียวขนาดเล็ก กลีบรองดอก 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ยาวเป็น 3 เท่าของกลีบรองดอก ปลายกลีบดอกม้วนดอก มีเกสรตัวผู้ 10 อัน ผลค่อนข้างกลม เป็นพูตื้นๆ 4-5 พู เปลือกผลสีขาวนวล ขนาด 1-1.5 เซนติเมตรภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลแก่เรียงอัดตัวแน่นเป็นจำนวนมาก พบบริเวณป่าโคก ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร เมล็ดภายในผลสีน้ำตาลคั่วรับประทาน


ประโยชน์

  • เมล็ดภายในผลรับประทานแก้โรคไขข้อเข่าเสื่อม
  • น้ำมันจากเมล็ดช่วยรักษาริดสีดวงจมูก 
  • น้ำมันจากเมล็ดช่วยบรรเทาอาการหอบหืด 
  • เม็ดกระบก สรรพคุณช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
  • น้ำมันจากเมล็ดช่วยบำรุงหัวใจ 
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น  >>คลิก<<