วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น:จิกน้ำ

ต้นจิกน้ำ

ต้นจิกน้ำ
ต้นจิกน้ำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barringtonia acutangula
วงศ์ Lecythidaceae
ชื่ออื่นๆ  จิกอินเดีย  จิกนา  จิกมุจรินทร์

เป็นไม้ประเภทผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล แดงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด เป็นรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ปลายและโคนใบแหลม ขอบจักถี่ เวลามีดอกจะทิ้งใบเหลือเพียงใบอ่อนเป็นสีแดง สวยงามน่าชมมาก ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด ห้อยลงเป็นระย้า ราว 30-40 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เป็นสีแดง หรือ ชมพู เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้เป็นฝอย ๆ สีชมพู หรือ สีแดง จำนวนมาก เวลามีดอกบานพร้อมกันจะดูแลสวยงามน่ารัก โดยเฉพาะช่วงมีดอกจะทิ้งใบมีแต่ยอดอ่อนเป็นสีแดงจัด ยิ่งเพิ่มความงดงามยิ่งขึ้น ผลลักษณะกลมยาว มีเมล็ด ดอกออกระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ในปีถัดไป

ประโยชน์

  • ยอดอ่อน และ ดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดและผักจิ้มกับ น้ำพริก ลาบ, น้ำตก
  • เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา 
  • ทำเครื่องเรือนและเป็นสมุนไพรแก้ระดูขาว 
  • ไม้ใช้ทำไม้อัด
  • ใบแก่ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ท้องร่วง 
  • เมล็ดใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้ไอในเด็ก
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3



ไม้ยืนต้น:เงาะ

เงาะ

ต้นเงาะ
ต้นเงาะ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Nephelium lappaceum Linn.
ชื่อสามัญ  Rambutan
วงศ์ Sapindaceae

ชื่ออื่นๆ กะเมาะแต มอแต พรวน เงาะป่า



เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้นเงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดินจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ21 – 30 วัน เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 – 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วัน จึงจะบานหมดช่อดอกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวนเพื่อเพิ่มละอองเกสรหรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืชเพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น สายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุดก็ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน (เงาะโรงเรียน) พันธุ์สีทอง พันธุ์สีชมพู เป็นต้น


ประโยชน์

  • สรรพคุณของเงาะ ช่วยรักษาโรคบิดท้องร่วง
  • ใช้เป็นยาแก้อักเสบ
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ช่วยแก้อาการท้องร่วงรุนได้อย่างได้ผลเงาะ
  • ผลเงาะนำมาต้ม นำน้ำที่ได้มาเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียรักษาอาการอักเสบในช่องปาก 

ข้อควรระวัง

  • ข้ออควรระวัง คือเม็ดในของเงาะมีพิษแม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้ว แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปจะมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้นไม่ควรจะรับประทานเม็ด

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

ไม้ยืนต้น:งิ้ว

ต้นงิ้ว

ต้นงิ้ว
ต้นงิ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceiba pentandra 
วงศ์ Malvaceae 
ชื่ออื่นๆ นุ่น

ต้นงิ้ว สูงประมาณ 10 – 15 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ผลอ่อนสีเขียวลักษณะยาวๆคล้ายผลแตงกวา แต่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อข้างในเป็นปุยและมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ส่วนใหญ่นำมาใช้ทำฟูกหรือที่นอนพบบริเวณตามบ้านเรือน ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ฝักอ่อนมากๆ เนื้อในซึ่งยังไม่เปลี่ยนเป็นปุยนุ่นใช้เป็นอาหาร หรือจะกินสดๆหรือใส่แกง สรรพคุณทางสมุนไพร   


ประโยชน์

  • เปลือกมีแทนนินแก้ท้องเสีย
  • รากขับปัสสาวะ
  • แก้บิด
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

อ้างอิง:http://student.nu.ac.th/phaitoon/%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7.html

ไม้ยืนต้น:แคป่า

ต้นแคป่า

ต้นแคป่า
ต้นแคป่า


ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone Spathacea schum. 
วงศ์ Bignoniaceae 
ชื่ออื่นๆ แคนา

ไม้ต้น เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้าม 3 - 5 คู่ และมีใบที่ยอด 1 ใบ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบเบี้ยวกว้าง 2.5 - 7 เซนติเมตร ยาว 6 – 16 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อแบช่อกระจะ (raceme) แต่ละช่อมี 2 – 10 ดอก บานทีละดอก  กลิ่นหอม บานตอนกลางคืน รุ่งเช้าร่วง กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวโค้งยาว 3 - 4 เซนติเมตร จะหุ้มดอกตูมมิด เมื่อดอกบานจึงมีรอยแตก ทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้ม (spathe) กลีบดอกติดกันเป็นท่อ ปลายขยายออกดเป็นรูประฆัง และแยกออกเป็น 5 แฉก ขอบกลีบย่น ดอกสีขาว เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดอยู่ที่ด้านในของกลีบท่อดอก ปลายแยกมีขนาดสั้น 2 อัน ยาว 2 อัน และมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน รูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กเกสรเพศเมีย 1 อัน ผลเป็นฝัก ช่อละ 3 - 4 ฝัก รูปร่างแบนโค้ง ระยะออกดอก เดือนมีนาคม - มิถุนายน พบตามป่า ทุ่ง ไร่นา ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร กลีบดอกบาน นำมาต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงส้มอั่วใส่ปลา


ประโยชน์

  • ขับเสมหะ
  • บำรุงโลหิตและลม
  • ขับผายลม
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<



ไม้ยืนต้น:แค

ต้นแค

ต้นแค
ต้นแค


ชื่อวิทยาศาสตร์ Sesbania Grandiflora Desv. 
วงศ์ Papilionaceae 
ชื่ออื่นๆ แคบ้าน แคขาว แคแดง

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งหักเปราะแตกง่าย ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยขนาดเล็ก10 – 30 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ผิวใบมีขน ดอก ออกเป็นกระจุก 2 - 3 ดอก หรือออกเดี่ยว กลีบดอกห้อยลง มีดอกสีขาวและสีแดง ฝัก ลักษณะแบนยาว หนา ปลายฝักแหลมภายในมีเมล็ด15 – 50 เมตร พบตามบ้านเรือนทั่วไป ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก ใช้ลวก ต้ม จิ้มน้ำพริก หรือทำแกงอ่อม แกงส้ม สรรพคุณทางสมุนไพร  


ประโยชน์

  • เปลือกประมาณ 40 กรัม ปิ้งไฟแล้วนำไปต้มกับน้ำธรรมดาหรือน้ำปูนใสดื่มแก้ท้องร่วง
  •  แก้บิด หรือ ใช้เป็นยาห้ามเลือด สมานแผล
  • ใบแก้ไข้หวัด 
  • รากผสมน้ำผึ้งช่วยขับเสมหะรักษาโรคปวดข้อ 
  • ดอกรับประทานเป็นผัก มีแคลเซียม และธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงร่างกาย
ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่น >>คลิก<<

อ้างอิง: http://student.nu.ac.th/phaitoon/%E0%B9%81%E0%B8%84.html

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไม้ยืนต้น:ขี้เหล็ก

ต้นขี้เหล็ก

ต้นขี้เหล็ก
ต้นขี้เหล็ก



ชื่อวิทยาศาสตร์ Basella alba Linn. 
ชื่อพ้อง B. rubra Linn. 
วงศ์ Basellaceae 
ชื่ออื่นๆ ขี้เหล็กบ้าน

ไม้ต้น สูงประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกสีเทา ปนน้ำตาลอ่อน แตกตามความยาวของ ลำต้น เป็นร่องตื้นๆเรือนยอดทรงพุ่ม ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกสลับ มีใบย่อย 10 – 15 คู่ ออกตรงข้ามรูปไข่ ปลายมน ฐานใบมน ใบขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร กว้าง 2 - 2.5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกช่อแยกแขนง (panicle) ออกตรงซอกใบหรือปลายกิ่ง สีเหลือง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวปนเหลืองกลีบดอก 5 กลีบแยกกัน สีเหลืองร่วงง่าย เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ (superior ovary) ผลเป็นฝักแบน ผลแก่บิดงอเล็กน้อย เมล็ดแต่ละฝักมีเมล็ด 10 – 30 เมล็ด ออกดอกตลอดปีพบตามป่าผลัดใบผสม ป่าเต็งรัง ในไร่ สวน บริเวณหมู่บ้านส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบยอดอ่อน ยอดอ่อน และดอกตูม นำมาต้มน้ำรินน้ำขมออก แล้วนำไปแกงกับปลาร้า ผสมน้ำคั้นใบย่านาง หรือใส่กะทิ 

ประโยชน์

  •  รากถ่ายพิษไข้ แก้ชักในเด็ก
  •  ต้นรักษาโรคผิวหนัง
  • เป็นยาระบาย
  • ใบแก้ระดูขาว
  • ดอกแก้นอนไม่หลับ
  • เป็นยาระบาย
  • ทำให้เจริญอาหาร
  • บำรุงประสาท
  • แก่นแก้กามโรค

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่นๆ >>คลิก<<


ไม้ยืนต้น:ข่อย

ต้นข่อย

ต้นข่อย
ต้นข่อย



ชื่อสามัญ   Siamese rough bush
ชื่อวิทยาศาสตร์  Streblus asper
วงศ์  MORACEAE
ชื่ออื่นๆ  สนนาย

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบขึ้นตามพื้นราบและป่าเบญจพรรณลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตรผิวเปลือกลำต้นสีเทาค่อนข้างขาว โคนลำต้นตรง เนื้อไม้เหนียวส่วนบนคดงอเป็นปุ่มปม และเป็นร่องเล็กน้อยมีใบออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กสีเขียว ขอบใบเรียบ โคนใบมนแหลม ปลายใบแหลม ใบหนาหยาบคล้ายกระดาษทราย ใช้ถูขูดเมือกปลาไหลได้ ออกดอกเป็นช่อดอกเล็ก สีขาวและเหลืองผลกลมมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดผลสามารถรับประทานได้ตอนสุก


ประโยชน์
  • เมล็ดช่วยทำให้เจริญอาหาร 
  • เปลือกเมื่อนำมาต้มกับเกลือจะได้เป็นยาอมช่วยแก้รำมะนาดได้
  • ช่วยขับลมในลำไส้
  • เมล็ดช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหารได้
  • ยางจากต้นไม้มีน้ำย่อยสามารถย่อยน้ำนม 
  • รากใช้เป็นยาใส่แผล 

ศึกษาพันธ์ไม้ชนิดอื่นๆ >>คลิก<<

ภาพจาก:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2