ไม้ยืนต้น:หมากลิ้นไม้

หมากลิ้นไม้



ชื่อวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum Vent. 
วงศ์ Bignoniaceae 
ชื่ออื่นๆ เพกา ลิ้นฟ้า มะลิดไม้ 

ลำต้นสูงประมาณ 5 – 12 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีเทาแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้น มีใบย่อย 5 ใบ 
รูปไข่ ปลายแหลม โคนใบสอบเข้าและเบี้ยว ขอบใบเรียบ ออกดอกตรงปลายยอด เป็นดอกช่อแบบช่อกระจะ (raceme) ก้านช่อดอกยาว 
มีดอกย่อย 20 – 35 ดอก จะบานพร้อมกันคราวละ 2 - 3 ดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ยาว 3 - 7 เซนติเมตร ปลายบนไม่แยกเป็นกลีบ กลีบดอกค่อนข้างหนา สีเขียวมีแถบสีม่วงแดง ติดเป็นรูประฆัง ส่วนบนแยกออกเป็น 5 กลีบย่น เกสรเพศผู้มี 5 อันแยกกัน ติดอยู่บนท่อกลีบดอก  ขนาดสั้นยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีรังไข่ 1 อัน มี 2 ห้อง ( locule) มีอวุล (ovule) จำนวนมาก ผลเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบห้อยลง  เมล็ดจำนวนมาก สีเขียวบาง มีเยื่อสีขาวหุ้ม ระยะเวลาออกดอกเดือนมิถุนายน - ธันวาคม ชาวบ้านจะนำฝักมาขายในตลาดสด พบบริเวณป่าเต็งรัง ป่าทุ่ง ป่าผสมผลัดใบ บริเวณ ไร่ สวน ตามบ้าน ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ฝักอ่อนนำมาเผาไฟแล้วลอกออก เป็นผักจิ้มน้ำพริก ยอดอ่อนนำมาปิ้งไฟรับประทานกับซุบหน่อไม้ 
   

ประโยชน์

  •  รากบำรุงธาตุไฟ 
  • แก้บิด
  • ฝักแก้ร้อนในกระหายน้ำ
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • เมล็ดเป็นยาระบาย

ศึกษาต้นอื่นๆ >>คลิก<<

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น