ไม้ยืนต้น:มะหวดป่า

มะหวดป่า



ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh. 
วงศ์ Sapindaceae 
ชื่ออื่นๆ หวดลาง สีฮอกน้อย หวดคา 
มะหวดป่า ชันรุ กะซำ กำจำ มะจำ

ไม้ต้นลำต้นสูงถึง 16 เมตร เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลถึงสีเทา ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับมีใบย่อย 3 - 6 คู่เรียงตรงข้าม  หรือเยื้องกัน บางครั้งสลับ แผ่นใบย่อยรูปไข่ ถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2 – 11 ซม . ยาว 4 – 30 เซนติเมตร ปลายป้านถึงเรียวแหลม  โคนมนถึงรูปลิ่มกว้าง ผิวใบมีขนยาวประปรายทั้ง 2 ด้าน ดอก เล็กสีขาวถึงเหลือง กลิ่นหอมหวาน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ยอด  ช่อดอกยาวถึง 50 เซนติเมตร ผล กลมกว้าง 7 – 10 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 7 – 10 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 8 – 15 เซนติเมตร ฉ่ำน้ำ เมื่อสุกสีม่วงแดงเกือบดำ พบตามป่า เกือบทุกชนิด
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อน แก่ ใส่แกงผักรวม ใส่ปลาย่าง หรือเป็นผักสด ต้ม ลวกจิ้มน้ำพริก ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้มีรสฝาดเล็กน้อย

ประโยชน์

  • ต้มดื่มแก้ซาง
  • แก้โรคโรคผิวหนัง
  •  เมล็ดแก้ไอ
  • แก้หอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น