ต้นแคป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichandrone Spathacea schum.
วงศ์ Bignoniaceae
ชื่ออื่นๆ แคนา
ไม้ต้น เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้าม 3 - 5 คู่ และมีใบที่ยอด 1 ใบ รูปไข่แกมขอบขนาน ปลายแหลม โคนใบเบี้ยวกว้าง 2.5 - 7 เซนติเมตร ยาว 6 – 16 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อแบช่อกระจะ (raceme) แต่ละช่อมี 2 – 10 ดอก บานทีละดอก กลิ่นหอม บานตอนกลางคืน รุ่งเช้าร่วง กลีบเลี้ยงหนาและเหนียว ปลายเรียวโค้งยาว 3 - 4 เซนติเมตร จะหุ้มดอกตูมมิด เมื่อดอกบานจึงมีรอยแตก ทางด้านล่าง มีลักษณะเป็นกาบหุ้ม (spathe) กลีบดอกติดกันเป็นท่อ ปลายขยายออกดเป็นรูประฆัง และแยกออกเป็น 5 แฉก ขอบกลีบย่น ดอกสีขาว เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดอยู่ที่ด้านในของกลีบท่อดอก ปลายแยกมีขนาดสั้น 2 อัน ยาว 2 อัน และมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 1 อัน รูปร่างเป็นเส้นเรียวเล็กเกสรเพศเมีย 1 อัน ผลเป็นฝัก ช่อละ 3 - 4 ฝัก รูปร่างแบนโค้ง ระยะออกดอก เดือนมีนาคม - มิถุนายน พบตามป่า ทุ่ง ไร่นา ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร กลีบดอกบาน นำมาต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกงส้มอั่วใส่ปลา
ประโยชน์
- ขับเสมหะ
- บำรุงโลหิตและลม
- ขับผายลม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น